วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถอธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน
ในปัจจุบันได้
            2. สามารถอธิบายความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านได้
            3.
สามารถอธิบายความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรมและเอกลักษณ์และ
มรดกของชาติได้
            4. สามารถสรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติเกี่ยวกับการผจญมารได้
            5. สามารถสรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติเกี่ยวกับการตรัสรู้ได้
            6. สามารถสรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติเกี่ยวกับการสั่งสอนได้ 


 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
    1. ข้อใดปฏิบัติตามสายพิณที่ตึงพอดี ไม่หย่อนหรือตึงเกินไป ?
      สุดสายมาโรงเรียนสายทุกวัน
      สุดสวยชอบแต่งหน้าเข้มเป็นประจำ สุดแสบชอบแกล้งเพื่อนเจ็บ ๆ สุดสาครชอบแบ่งเวลาในการทำงาน

    2. เพราะเหตุใดศาสนาอิสลามจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศมาเลเซียมากกว่าศาสนาพุทธ ?
      การนับถือของราชวงศ์ในประเทศ และบังคับประชาชนให้นับถือศาสนาอิสลาม ไม่มีใครสืบทอดพระพุทธศาสนา ประเทศมาเลเซียเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลาม การทำลายศาสนสถานของพระพุทธศาสนา

    3. “ธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ” ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อคนไทยในด้านใด ?
      ภาษา จิตใจ ประเพณี ศิลป

    4. การสั่งสอนโดยเปรียบเทียบเป็นดอกบัว 4 เหล่า เป็นตัวอย่างของหลักการสอนแบบใดของพระพุทธเจ้า ?
      การสอนโดยคำนึงถึงผู้เรียน การสอนโดยคำนึงถึงผู้สอน การสอดโดยคำนึงถึงเนื้อหาที่สอน การสอนโดยการแยกแยะ

    5. ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย นับถือศาสนาอะไร ?
      ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริตส์ ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

    6. กษัตริย์องค์ใดของพม่าที่โปรดเกล้าฯ ให้จารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหินอ่อน ?
      พระเจ้าอโนรธามังช่อ พระเจ้ามินดง พระเจ้าอลองพญา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้

    7. ประเทศใดนับถือนิกายไศวะ ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้าไปถึง
      ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศพม่า

    8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “สัจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเมื่อตรัสรู้” ?
      เป็นความจริงที่พระองค์ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง ไม่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ค้นพบ เป็นความจริงที่พระองค์ทรงค้นพบโดยบังเอิญ เป็นความจริงที่พระองคืทรงค้นพบจากการทรมานพระองค์เอง

    9. อิทธิพลของพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยในด้านใด ?
      ยิ้มแย้มแจ่มใส ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี รักความเป็นอิสระ มีน้ำใจไมตรี รักความเป็นอิสระ ยิ้มแย้มแจ่มใส

    10. การประท้วงและเผาตัวเองของพระภิกษุ สามเณร และแม่ชี ในประเทศเวียดนาม มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ใด ?
      การตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ การตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส การเกิดสงคราม การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับศาสนา

    11. หลักการสอนของพระพุทธเจ้า เป็นตัวอย่างที่ดีในการที่ครูจะนำไปประยุกต์ใช้ ลักษณะการสอนที่เด่นที่สุดคือข้อใด ?
      การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การยกตัวอย่างประกอบ เป็นลำดับขั้นตอน การสอนจากเนื้อหาที่ง่ายไปหายาก การใช้เทคนิคการสอนอย่างหลากหลาย

    12. สาเหตุใดที่พระพุทธศาสนาในประเทศลาวเสื่อมลง ในช่วง พ.ศ. 2436 ?
      เพราะตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ เพราะตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร เพราะตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เพราะการเกิดสงคราม

    13. การสร้างความสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน ควรใช้หลักธรรมอะไรบ้าง ?
      ทศพิธราชธรรม พรหมวิหาร สัปปุริสธรรม พรหมวิหาร ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ สาราณียธรรม สังคหวัตถุ

    14. “การชนะมาร” ถือว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ทั้งนี้เพราะเหตุใด ?
      เพราะมารมีอิทธิฤทธิ์มาก การเอาชนะจึงเป็นเรื่องยาก เพราะมารมีการปฏิบัติการทั้งล่อลวง และจองจำ เพราะมารมีการยั่วยุ ให้ลุ่มหลงมัวเมา เพราะสามารถเอาชนะกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง

    15. “การสอนบุคคลโดยยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน ถึงจะเข้าใจ” พระพุทธองค์ทรงเปรียบเหมือนดอกบัวในลักษณะใด ?
      ดอกบัวพ้นน้ำ ดอกบัวเสมอน้ำ ดอกบัวใต้น้ำ ดอกบัวใต้โคลนตม

    16. การไม่ดูถูกเหยียดหยามประเทศเพื่อนบ้านว่าด้อยกว่าหรือยากจน ถือว่าเราปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใด ?
      ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา

    17. บุคคลในข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด ?
      ใบเตยกล่าวว่า วรรณกรรมไทยทุกเรื่อง มีอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา ใบตาลกล่าวว่า วัฒนธรรมไทย มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ใบตองกล่าวว่า พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้นำภาษาบาลีเข้ามาในประเทศไทย ใบตาดกล่าวว่า วัฒนธรรมด้านภาษาและศิลปะเท่านั้นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา

    18. ข้อใดถือว่าเป็นมรดกที่สำคัญของพระพุทธศาสนาที่สำคัญต่อประเทศไทย
      พระสงฆ์ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธรูป ศาสนสถาน และโบราณสถานต่าง ๆ

    19. ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้พระองค์ได้ผจญมาร คำว่า “มาร” ในพระพุทธศาสนาหมายถึงอะไร ?
      พญามาร และเสนามาร สิ่งขัดขวางมิให้พระพุทธองค์บรรลุพระอรหันต์ ธิดามาร ทั้งพญามาร เสนามาร และธิดามาร
      ารเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบัน          หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัย ของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น 1. พระพุทธศาสนาในประเทศสหภาพพม่า หรือเมียนมาร์(MYANMAR)
       
       
               พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้าสู่ประเทศสหภาพพม่าในระยะแรกคือพระพุทธศาสนาสัทธิเถรวาทหรือนิกายหินยานได้เข้าไปประดิษฐานที่เมืองสุธรรมบุรีหรือเมืองสะเทินซึ่งเป็นเมืองหลวงของมอญซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศส่วนพม่าตอนเหนือมีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง พระพุทธศาสนาลัทธิอาจริยวาทหรือนิกายมหายานได้เผยแผ่มาจากแคว้นเบงกอลและโอริสาของอินเดียในสมัยของพระเจ้าอนุรุทธมหาราช (พระเจ้าอโนรธามังช่อ)ทรงครองราชย์ที่เมืองพุกาม(พ.ศ. 1587) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถมากทรงรวบรวมดินแดนของพม่าให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน ได้สำเร็จและเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองสะเทินได้จึงทรงโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์และไตรปิฎกจากเมืองสะเทิมไว้ที่เมืองพุกาม พร้อมกันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และพระองค์ทรงเสื่อมใสศรัทธาในลัทธิหินยานด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาในพม่าตอนใต้เสื่อมลง                   นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธามังช่อยังได้ทรงส่งสมณฑูตไปติดต่อกับลังกาและไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์มาจากลังกาด้วยในรัชสมัยของพระเจ้าธรรมเจดีย์กษัตริย์มอญขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริว่าพระพทุธศาสนาในเมืองมอญในขณะนั้นเสื่อมลงมากจึงโปรดให้มีการชำระพระพุทธศาสนาในบริสุทธิ์โดยทรงให้พระภิกษุทุกรูปในเมืองมอญลาสิกขาและเข้ารับการอุปสมบทใหม่จากพระอุปัชฌาย์และพระอันดับที่ล้วนได้รับอุปสมบทจากลังกาเป็นผู้ให้อุปสมบทแต่หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็เลื่อมลงอีก สาเหตุเนื่องมาจากพม่ากับมอญทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กันอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. 2300 เมื่อพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่าได้ยกทัพไปทำลายกรุงหงสาวดีอย่างราบคาบ ชนชาติมอญก็สูญสิ้นอำนาจลงอย่างเด็ดขาดพระพุทธศาสนาในประเทศพม่าได้รับการทำนุบำรุงจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยพระเจ้ามินดง( พ.ศ. 2395-2420) พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่พม่าระหว่าง พ.ศ. 2411-2414 ณ เมืองมัณฑเลย์และโปรดเกล้าฯให้จารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหินอ่อนแล้วทำสถูปครอบไว้ ซึ่งยังปรากฎอยู่ที่เชิงเขาเมืองมัณฑะเลจนถึงทุกวันนี้ปี พ.ศ. 2429 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกล้มลง จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนตามไปด้วยแต่ถึงกระนั้น ประชาชนชาวพม่าก็ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นตลอดมา จนเมื่อพม่าได้รับเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2491 ฯพณฯ อุนุ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเมื่อ พ.ศ. 2493 และต่อมารัฐบาลได้ออกกฎหมายรับรองให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในปี พ.ศ. 2504
         
       
      พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย       
       ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้าสู่ประเทศกัมพูชาในช่วงที่อาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองแต่เดิมประชาชนในอาณาจักรเหล่านี้นับถือนิกายไศวะ คือนับถือพระศิวะประพระอิศวรตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ส่วนพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาภายหลัง สาเหตุที่ชาวกัมพูชาหันมานับถือพระพุทธศาสนา เนื่องจากในรัชสมัยของพระเจ้าวรมัน (พ.ศ. 1021-1057) พระภิกษุนาคเสนซึ่งได้ติดตามพ่อค้าชาวฟูนันมาจากเมืองกวางตุ้งและได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ด้วย ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสและทรงยกย่องและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ต่างก็มีความเจริญและความเสื่อมใสไม่คงที่สุดแล้วแต่พระมหากษัตริย์ในแต่ละสมัยทรงเลื่อมใสศาสนาใดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนี่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ( พ.ศ. 1511-1544)โดยทรงโปรดให้มีการนำเอาคัมภีร์จากต่างประเทศเข้ามาสู่อาณาจักรเป็นครั้งแรกและมีการส่งเสริมการปฎิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น        ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานซึ่งได้รับอิทธิพลจากนครศรีธรรมราชอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ทรงโปรดฯให้สร้างวัดคติมหายาน ต่อมาประชาชนส่วนใหญ่ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยานมากขึ้นและแม้แต่ปัจจุบันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ของกัมพูชาก็นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเช่นเดียวกับไทยเนื่อมาจากการได้รับอิทธิพลการแพร่หลายไปจากไทยนั่นเอง
       
       
       พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย          ได้มีการสันนิษฐานกันว่า ชาวอินเดียคงเป็นผู้นำพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เข้ามายังดินแดนประเทศอินโดนีเซียประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 และพระพุทธศาสนาในระยะแรกคงเป็นแบบเถรวาทหรือหินยานมี อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาระหว่างจีนและอินเดีย หลักฐานที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุ ที่สำคัญได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบและรูปพระโพธิสัตว์ เป็นต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14ได้ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานและได้โปรดฯให้สร้างพุทธวิหารโบโรพุทธโธและราชวงศ์ไศเลนทร์ก็ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับราชวงศ์ปาละแห่งแคว้นเบงกอล จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันขึ้น ทั้งการส่งพระภิกษุไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยลันทา และการสร้างพระพุทธรูป เป็นต้น          เมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ศาสนาพราหมณ์ฮินดูได้เข้ามาเจริญรุ่งเรืองยังดินแดนอินโดนีเซีย ต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์ฮินดูเสื่อมลง ศาสนาอิสลามก็เข้ามาเจริญแทนที่ กษัตริย์พระองค์แรกของอินโดนีเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีเมืองมะลากาก็กลายเป็นศูนย์กลางศาสนาอิสลามและแพร่หลายเข้าสู่ชาวอินโดนีเซียในที่สุดส่วนชาวอินโดนีเซียที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ยังคงมีอยู่บ้างประปรายในเกาะชวาสุมาตรา และเกาะบาหลี

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น