การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็คือ การรู้แจ้งความจริงอันประเสริฐ 4 ประการนี้ซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ฉะนั้นคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พระพุทธศาสนา จึงเป็นหลักคำสอนที่เกี่ยวกับความจริงที่มีเหตุผลสมบูรณ์ถูกต้อง และสามารถนำมาประพฤติปฏิบัติ และได้รับผลด้วยตนเอง พิสูจน์ได้ ไม่จำกัดกาลเวลา ฉะนั้นในพระพุทธศาสนาจึงไม่มีคำสอนชนิดที่เรียกว่า ”เดา” หรือ ”สันนิษฐาน” หรือ ”คาดคะเน (สมมุติฐาน)” ว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องเป็นความจริงที่ได้ค้นคว้าประจักษ์แจ้งแล้วจึงใช้ได้
พระพุทธเจ้ามีหลักการสอนดังนี้
1. ทรงคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเน้นความแตกต่างด้านสติปัญญา กล่าวถึงวิธีการสอนแต่ละบุคคลไว้อย่างชัดเจนและเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน ด้วยดอกบัว 4 เหล่า ดังนี้
1.1 อุคฆปฏิตัญญู ได้แก่ ผู้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลม(abnormal)เพียงแค่ยกหัวข้อขึ้นแสดงก็สมารถรู้และเข้าใจได้ทันทีเปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่เหนือน้ำรอคอยแสงอาทิตย์พออาทิตย์ฉายแสง ก็เบ่งบานได้ทันที
1.2 วิปจิตัญญู ได้แก่ ผู้มีปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง(normal)ต้องอธิบาย ขยายความแห่งข้อนั้นๆแล้ว จึงจะสามารถรู้และเข้าใจได้เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอผิวน้ำจะบานในพรุ่งนี้
1.3 เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พอจะแนะนำได้(borderline) คือพอจะฝึกสอนอบรมให้รู้และเข้าใจได้อยู่และจะต้องยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจนเปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังโผล่ไม่พ้นน้ำ ซึ่งจักบานในวันต่อๆไป
1.4 ปทปรมะ ได้แก่ผู้ด้อยปัญญา (mentally defective)สอนให้รู้ได้แต่เพียงพบคือ พยัญชนะหรือถ้อยคำ แต่ไม่อาจเข้าใจความหมายได้เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ โคลนตม ซึ่งย่อมเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า
2. สอนโดยคำนึงถึงเนื้อหาที่สอน เช่น
2.1 สอนจากเนื้อหาที่ง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยาก โดยเรียงลำดับเนื้อหาให้เข้าใจอย่างชัดเจนตามลำดับ เช่น การสอนอริยสัจ 4 คือ (1)ทุกข์ (2) เหตุแห่งทุกข์(3)ความดับทุกข์ (4)หนทางปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์
2.2 สอนด้วยวิธีการปฏิบัติ เช่น สอนวิธีการปฏิบัติสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานฐาน สอนวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น
2.3 สอนให้มีเหตุมีผล ไม่เชื่อง่าย เช่น หลักการสอนในกาลามสูตร 10 ประการ หรือสอนให้เข้าใจถึงกฎธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่น อิทัปปัจจยตา หรือไตรลักษณ์
2.4 สอนให้รู้ให้เข้าใจถึงองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ในลักษณะองค์รวม (Holistic) เช่น หลักของขันธ์ 5 มนุษย์ประกอบด้วย นาม รูป (รูป+นาม)
2.5 สอนให้รู้จักประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในทางสายกลาง ไม่สุดโต่งในด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า มัชฌิมปฏิปทา เช่นปฏิบัติตามอริยมรรค 8
3. สอนโดยคำนึงถึงลักษณะการสอน เช่น
3.1 สอนโดยการยอตัวอย่างประกอบการสอน เช่น ยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ปางก่อนที่เรียกว่า ชาดก ประกอบการสอนให้เข้าใจง่ายขึ้น
3.2 สอนโดยการสร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลิน ไม่ตึงเครียด สอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายๆผู้ฟังจึงเข้าใจง่ายๆผู้ฟังจึงเข้าใจง่าย
3.3 สอนได้ทุกสถานการณ์ ทุกสถานที่ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ เช่น สอนตามต้นไม้ สอนองคุลีมาร
3.4 สอนแบบรู้แจ้ง จนผู้ที่ได้สดับฟังสามารถบรรลุพระอรหันต์ได้ เช่น สอนนางกีสาโคตรมี โดยให้สืบหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเพื่อเป็นส่วนประกอบของยาชุบชีวิตบุตร จนนางกีสาโคตรมีบรรลุถึงสัจธรรมของความตาย เป็นต้น
3.5 สอนโดยใช้ภาษาสุภาพ นุ่นนวล เหมาะสม เช่น สอนคนไม่ดีด้วย ความดี สอนคนโกรธด้วยความไม่โกธร เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น